I felt twangs of guilt when I perceived one of the dine and ditchers was embarrassed after I publicly blacklisted her. So I turned to the footage from the security cameras, where I could count precisely how many bites of food the two women took and see how long they waited before telling their server the food was too cold to eat. After watching the footage, all my doubts and guilt instantly dissolved. But what about other instances in which we don’t have security cameras to review? How can we erase lingering feelings of guilt?
The answer, as counter-intuitive as it may seem, is to look outwards. Look at others in similar situations. When we are removed from the situation, it’s like watching a television show: we understand the factors leading up to different events and see the consequences more objectively. We can see that the nurse’s lapse of care didn’t kill her mother; her mother suffered complications from a lifelong struggle with diabetes. We can see that each person had their own path to travel; parting ways wasn’t sad or unfortunate, but a normal part of life.
With enough examples, you can see the patterns in life, the way karma works, and you can discern causes from factors. Then, you can apply that understanding to your own life, your own doubts, your own guilt. Fill in the blanks of imperfect knowledge from your own situation with the understanding of life in general. Then, you might see that maybe there wasn’t anything more you could have done. You also did your best, given the knowledge you had at that moment in time. And maybe you can move on from those nagging doubts and guilt once and for all.
เรารู้สึกผิดนิดๆ หลังจากเห็นลูกค้าที่กินแล้วไม่จ่ายตังค์มีอาการอายตอนที่เราห้ามให้เขากลับมาที่ร้านเราอีก เราก็เลยไปเปิดดูวีดีโอกล้องวงจรปิดเพื่อตรวจดูว่าเขาทำผิดจริงไหม ดูวีดีโอแล้วสามารถนับคำ นับนาที เห็นว่ากินไปเท่าไหร่ก่อนที่จะบอกว่าอาหารเย็นเกินไปและส่งคืน พอได้ดูวีดีโอแล้ว ความรู้สึกผิดก็หายไปจากใจเราทันทีเลย แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นที่เราไม่สามารถจะเปิดดูวีดีโอวงจรปิดหละ เราจะจัดการกับความรู้สึกผิดอย่างไร
คำตอบเหมือนจะตรงกันข้าม แต่ถ้าอยากแก้ไขปัญหาของเรา ก็ต้องมองออกไปข้างนอก ดูคนอื่น เหตุการณ์อื่นๆ ที่คล้ายของเรา เมื่อตัวเราไม่มีอยู่ในนั้นแล้ว จะเหมือนดูทีวี เราจะเห็นและเข้าใจเหตุปัจจัยที่พาให้เกิดเรื่อง และจะเห็นผลที่ตามมาอย่างชัดเจน ใจเราจะเป็นกลาง เราจะเห็นว่าแม่ที่ตายไป ไม่ได้ตายเพราะลูกที่เป็นพยาบาลไม่ได้มาตรวจดูแม่ก่อนนอน แต่ที่แม่ตายก็เพราะเป็นเบาหวานมานานและมีโรคซ้อนหลายโรค เราจะเห็นว่าทุกคนต่างมีทางเดินของชีวิตที่แตกต่างไป การจากกันไม่ได้น่าเศร้าแต่เป็นเพียงเรื่องธรรมดาของชีวิต
พอเก็บข้อมูลพอแล้ว เราจะเห็นแบบอย่างของโลกใบนี้ จะเห็นวิธีการของกรรม จะสามารถแยกเหตุจากปัจจัย แล้วจะสามารถเอาความเข้าใจนั้นมาใช้กับชีวิตของเราเอง เอามาใช้กับความทุกข์ กับความรู้สึกผิด กับความกังวลของเรา สิ่งที่เราไม่รู้จากเหตุการณ์รที่เกิดกับเราเอง ก็รู้ได้ประมาณได้จากแบบอย่างของเรื่องคนอื่นที่คล้ายๆ เรื่องของเรา เราอาจจะปรับความเข้าใจได้ว่าเราทำดีที่สุดแล้ว ณ จุดนั้น ด้วยความรู้ที่มีตอนนั้น แล้วเราอาจจะวางความรู้สึกผิดที่แบกมาเป็นเวลานานได้สักที
No Comments