ช่วงรีทรีทปีนี้ เราได้ค้นหาจุดเด่นของตัวเอง เพื่อที่จะแก้ไขนิสัยพวกนี้ เราได้ถามกันว่าเรามีบุคลิกภาพแบบไหน เช่น: เจ้าชาย ฮีโร่ คนดี คุณแม่ ศิลปิน เถรตรง สำคัญมากที่เราจะรู้ว่าเรามีบุคลิคภาพแบบไหน เพราะคุณสมบัติพวกนี้เป็นเหตุให้เราทั้ง ประสบความสำเร็จ และ ไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิต
อย่างนึงที่คนที่มารีทรีทเป็นกันหลายคนคือ เป็นคนที่เยอะ คือ มักจะดราม่า ชอบตกแต่ง และตอนพูด ก็จะพูดอ้อมโลกกว่าจะเข้าเรื่อง จะเติมข้อมูลและอธิบายเยอะๆ
คนหนึ่งเห็นว่าตัวเองเป็นคนเยอะ ก็เลยไปคิดเรื่อง “น้ำ กับ เนื้อ” ไปพิจารณาว่าคำพูดส่วนไหนเป็นส่วนเกิน คือน้ำ และส่วนไหนเป็นส่วนจำเป็น คือเนื้อ หลังจากนั้นก็ไปคิดเรื่องรองเท้าที่บ้านว่า คู่ไหนเป็นน้ำ คู่ไหนเป็นเนื้อ ไปพบว่าส่วนใหญ่เป็นน้ำหมดเลย แล้วเห็นว่าส่วนอื่นๆ ของชีวิตประกอบไปด้วยน้ำแล้วส่วนใหญ่
ก็เลยพิจารณาต่อว่าในสิ่งของแวดล้อมเรานี้ ส่วนไหนเป็นน้ำ ส่วนไหนเป็นเนื้อ เอาประตู เบาะนั่ง ขวดน้ำดื่ม และ สิ่งของชิ้นอื่นๆ มาพิจารณาในด้าน น้ำ กับ เนื้อ สามารถที่จะพิจารณาแบบนี้ตลอดเวลาเลย ที่บ้าน ที่ทำงาน ที่ไหนก็ได้ เป็นการพิจารณาธาตุสี่ไปในตัว ทำไปเรื่อยๆ ก็จะเดินเข้ากระแสได้ด้วย
During the 2014 KPY USA Retreat, we worked on recognizing and fixing our prominent personality traits. We asked practitioners to identify what stereotype they believe they belong to. Some examples were: the prince, the hero, the good guy, the mom, the artist, the extremist. It is important to recognize what stereotype we represent because the related personality traits are behind both the failures and achievements in our lives.
One trait that many attendees shared was that of being prolific, or “too much.” The symptoms being that they have a dramatic flair, love to accessorize, and when speaking, will circle the world before getting to the point. They often add lots of background information and details to their explanations.
After identifying herself as one of these people, one girl contemplated the issue of “meat and sauce.” She analyzed which parts of her speech were necessary (“meat”) and which parts were extra (“sauce”). She then related the “meat and sauce” issue to her shoes back at home, finding that only a handful of shoes were “meat” while the majority were “sauce.” She also recognized that this issue popped up throughout various aspects of her life.
We then proceeded to identify the “meat” and “sauce” in tangibles, like water bottles, doors, seat cushions, and many other things. This exercise can be done all day, wherever you may be. Seeing this theme applied to all tangible objects is just like the function exercise used in contemplating the four elements. With continuous effort, it can even lead to freshman level attainment.
No Comments