I heard a sermon given by an American monk, who had traveled to Thailand to train with a famous Thai monk. Upon recognizing that language would pose a great challenge in his efforts to further his studies, the American monk took it on himself to study and eventually master the Thai and Isaan (Northeastern dialect of Thai) languages. I remember sitting there thinking, “Yeah, that’s how it should be done.”
These days, I often hear students complaining about how they can’t learn anything because of their teacher’s insensitive methods or distracting mannerisms. They require their teachers to speak gently, not in front of others, and not hold back but also not give away too much. They require direct and truthful answers, but filtered first. All their various conditions must be met before they are ready to learn.
Back when LP Thoon was alive, we took everything he said or did as a cue to internalize. The message’s packaging wasn’t at all an issue; it was the message that we were after. We treated his teachings like pure diamonds, kept on the highest shelf, to be viewed and appreciated time and time again. We didn’t require or ask anything of him. We were only beggars in the presence of a king.
ได้ฟังพระฝรั่งเทศน์ถึงการไปเมืองไทยเพื่อไปเรียนกับพระอาจารย์ดังรูปนึง พอไปเจอว่าฟังอาจารย์ไม่รู้เรื่องเลย ก็ตั้งใจเรียนภาษาของอาจารย์ คือเรียนพูดเขียนภาษาไทย และเรียนภาษาอีสานด้วย เรานั่งฟังเทศน์ไปก็คิดไปว่า เออ มันต้องอย่างนี้สิ
เดี๋ยวนี้ ได้ยินแต่ลูกศิษย์บ่นกันว่าเรียนอะไรไม่รู้เรื่อง เพราะอาจารย์พูดไม่รักษาน้ำใจหรือ ท่าทางเยอะ อาจารย์ต้องพูดเบาๆ เพราะๆ อย่าพูดต่อหน้าคนอื่น ตอบมาให้หมดแต่อย่าเฉลยมากเกินไป ต้องตอบตรงๆ ตามความจริงแต่อย่าพูดให้ตรงมากนัก อาจารย์ต้องผ่านเงื่อนไขต่างๆ เต็มไปหมดก่อนที่ลูกศิษย์จะพร้อมที่จะเรียน
สมัยหลวงพ่อทูลยังมีชีวิตอยู่ เราน้อมเอาทุกคำพูด ทุกการกระทำของท่านมาเป็นอุบายสอนใจตัวเอง ท่านจะทำหรือพูดในรูปแบบไหนไม่สนใจเลย สนใจแต่ธรรมะ เราเห็นธรรมะของท่านเหมือนเพชรที่ได้มา เราบูชาเอาไว้สูง เอามาชมอยู่เรื่อยๆ เราไม่ได้ต้องการ และไม่ได้ขออะไรจากท่านเลย เราเป็นเพียงขอทานที่ได้เข้าเฝ้าพระราชาเท่านั้น
เห็นด้วยกับนิครับ ถ้าจะถอยออกมาอีก คนเดียวที่เราปิดปากได้คือตัวเอง คำพูดคนอื่น บังคับได้น้อยมากๆๆ อาจจะได้ต่อหน้าและ ลับหลังบ้างบางครั้ง แต่ก็ได้แค่นั้น ยิ่งเรื่องความคดไคิดไม่ต้องหวัง พี่คิดว่าคำพูดที่ขัดใจ หรือทำให้เราเจ็บสะดุดนี่แหละ เอามาเป็นครูสอนธรรมะเราได้เสมอ ไม่ว่าเจตนาคนพูดจะดีหรือไม่ดี กลับมาที่ครูบาอาจารย์ซึ่งในใจท่านไม่มีอะไรมากกว่าความต้องการที่จะให้ธรรมะกับเรา ธรรมะอยู่ในนั้นไม่ต้องเค้นกันออกมา มีแต่ความหวังดีที่จะให้ธรรมะและให้เรา อยู่ที่เราอย่างเดียวที่จะรับได้หรือเปล่า
นิเคยสงสัยว่า ทำไมมีแต่ติ ไม่ชมกันเลย ทำถูกก็ว่า ดีนะ แต่ดีกว่านี้ก็ได้อีก ก็เลยมาคิดว่าถ้าคำสุดท้ายที่ได้ยินจากปากอาจารย์เป็นคำชม เราอาจดีใจตอนนี้ แต่ไม่ได้ช่วยให้เราดีขึ้นในอนาคต แต่ถ้าคำสุดท้ายเป็นคำติ เราอาจเสียใจตอนนี้ แต่จะมีข้อพัฒนาได้อีกต่อไป นิเรือกคำติ